การบริหารการผลิต


                การบริหารการผลิต  คือ   การจัดระบบทำงานของขบวนการแปลงสภาพ และการจัดการด้านปัจจัยการผลิต เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพที่ต้องการ ในปริมาณที่เพียงพอกับความต้องการตามเวลาที่กำหนดไว้โดยเสียค่าใช้จ่ายต่ำ การที่ดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหายดังกล่าวได้ ผู้บริหารการ     ผลิตจะต้องดำเนินการในเรื่องต่าง ดังนี้

  1. กำหนดและสะสมปัจจัยการผลิต ที่จำเป็นต้องใช้
  2. ออกแบบและติดตั้งกระบวนการผลิต เพื่อใช้แปลงสภาพปัจจัยการผลิต ให้เป็นผลผลิต

    3. วางแผนและควบคุมการผลิต ตลอดจนประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการผลิต
                ในการบริหารการผลิตนั้น มีความสัมพันธ์กับกลยุทธ์ทางการตลาดที่ต้องมีนโยบายและแผนงาน ซึ่งวางไว้สำหรับป้องกันการแข่งขัน โดยเฉพาะทางด้านการผลิตสินค้าและบริการ ตลอดจนแผนงานด้านการตลาดที่กำหนดไว้สำหรับลูกค้าแต่ละกลุ่ม นั้นคือ ส่วนสำคัญยิ่งของกลยุทธ์ของธุรกิจ      ในด้านแผนการตลาดนั้นก็มักจะกำหนดวิธีการ และขั้นตอนสำหรับที่จะสรรหาลูกค้าตามเป้าหมายมีการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า และกำหนดวิธีการที่จะเข้าหาลูกค้าเหล่านี้อย่างดีที่สุด นอกจากนี้ยังมีแผนงานด้านที่เกี่ยวกับช่องทางการจัดจำหน่าย การโฆษณาประชาสัมพันธ์ การกำหนดราคา ความรวดเร็วและความแม่นยำในการให้บริการ เป็นต้น

 

สินค้าที่ผลิตออกมา สามารถแบ่งได้ตามลักษณะการใช้สินค้าของผู้บริโภค แบ่งได้เป็น 2 ประเภท

1. สินค้าขั้นสุดท้าย
 (Consumer’s Goods) เป็นสินค้าที่ใช้สำหรับผู้บริโภคคนสุดท้ายใช้สินค้าเพื่อตอบสนองความพอใจของตนเองเป็นคนสุดท้าย เช่น การซื้อเตาแก๊สมาใช้หุงต้มอาหารทานเอง


2. สินค้าอุตสาหกรรม
(Industrial Goods) เป็นสินค้าที่ต้องนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าสำเร็จรูปอีกต่อหนึ่ง เช่น การนำอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาล

 

อุตสาหกรรม (Industry) สามารถแบ่งได้ตามลักษณะของสินค้า วัตถุดิบดังนี้


1. Genetic Industry คือ การประกอบธุรกิจทางด้านการเกษตรกรรมและการกสิกรรม เช่น เลี้ยงวัวพันธุ์ ทำสวนผลไม้ ฯลฯ


2. Extractive Industry หมายถึง ธุรกิจที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต สินค้า เช่น ขุดเจาะนำมัน การทำเหมืองแร่ การประมง ฯลฯ


3. Manufacturing Industry หมายถึง ธุรกิจที่จะนำเอาวัตถุดิบ (Raw Material) ต่างๆ มาประกอบกันขึ้นเป็นสินค้าสำเร็จรูป


4. Construction Industry หมายถึง ธุรกิจดำเนินการด้านการก่อสร้าง อาคาร บ้านเรือน ถนน ฯลฯ

 


        นอกจากนี้สามารถแบ่งตามระบบการผลิตทั้งอุตสาหกรรมได้แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ


1. Analytical Industry หมายถึง อุตสาหกรรมที่นำเอาวัตถุดิบอย่างเดียวมาใช้ เพื่อผลิตสินค้า หลายๆ ประเภท เช่น อุตสาหกรรมกลั่นน้ำมัน เป็นต้น


2. Synthetic Industry หมายถึง อุตสาหกรรมที่นำเอาวัตถุดิบหลาย ๆ ชนิด มาผลิตสินค้า หลายๆ ประเภท เช่น อุตสาหกรรมการตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น