การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้

 

ขอแนะนำให้ตัดสินใจเอาระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ เพราะจะช่วยคุณไดข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจ ที่ถูกต้องและรวดเร็ว และการควบคุมงานต่าง ๆ ของฝ่ายบริหารจะประสบความสำเร็จลงไดนั้นจะต้องอาศัยระบบข้อมูลที่ไดมีการรวบรวมเอาไว ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นปัญหายามเมื่อเหตุการณต่าง ๆ เกิดขึ้น

 

ขั้นตอนการพนำเอาคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับระบบงานการวางแผนการผลิต มีดังต่อไปนี้
หนาของฝ่ายผลิต


1. กำหนดวัตถุประสงค์ของการนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้งาน


2. กำหนดขอบเขตของระบบงานการผลิต


3. กำหนดขอบเขตของงานที่ต้องการนำระบบคอมพิวเตอร์ไปใช้


4. ตรวจสอบระบบงานหลังจากที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ไดพัฒนาเสร็จแลว


5. รวบรวมความต้องการใหม่ ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได เพื่อนำมาปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ให้มี
ประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น

 


หน้าที่ของฝ่ายคอมพิวเตอร์


1. ศึกษาความเป็นไปได ที่จะจัดสร้างระบบให้เหมาะสมกับขอบเขตงานที่ฝ่ายผลิตกำหนด
ไว


2. ศึกษาความเป็นไปได ที่จะจัดสร้างระบบให้อำนวยประโยชนกับระบบงานการผลิต และ
สวนงานที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุดที่จะเป็นไปได


3. กำหนดระยะเวลาในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในแต่ละขั้นตอน โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ดัง
นี้
- การออกแบบระบบ(System Design )
- การกำหนดรายละเอียดของคุณลักษณะที่ควรจะเป็นในแต่ละส่วนงานที่
ออกแบบเอาไว (System Specification)
- ส่งรายละเอียดของระบบที่ถูกออกแบบเอาไวไปให้ฝ่ายผลิตตรวจเช็คว่า
เป็นดังที่ต้องการหรือไม
- ให้ฝ่ายผลิต เซ็นกำกับในรายละเอียดของระบบงาน ที่เขาเห็นด้วย เพราะบางครั้งเมื่อเวลาผ่าน
ไป ผู้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์มักจะลืมว่าเขาไดเรียกร้องให้ระบบ ช่วยอะไรเขา
บ้างแล้วอาจจะเกิดความขัดแย้งในกรณีที่ระบบไมสามารถสนองตอบ
ความต้องการบางอย่างได
- ทำการพัฒนาโปรแกรมตามรายละเอียดของระบบงานที่ผ่านความเห็นชอบ
จากฝ่ายผลิตแลว ทดสอบระบบ โดยอิงถึงรายละเอียดของระบบที่ไดออก
แบบ เอาไว
- สอนวิธีการใช้ระบบให้กับฝ่ายผลิตผลิต
- ติดตั้งระบบให้กับฝ่ายผลิตผลิตไดใช้งานจริง เมื่อฝ่ายผลิตตรวจสอบแล้วว่า
ระบบไมมีข้อผิดพลาด
- รวบรวมข้อผิดพลาดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นไดเมื่อมีการใช้งานจริง กับรูปแบบของ
ข้อมูลที่หลากหลาย
- แกไขโปรแกรมให้ถูกต้องโดยอิงกับข้อมูลที่สรุปมาหลังจากที่มีการใช้งาน
จริง


4. พัฒนาระบบงานตามขั้นตอนที่ได้กำหนดเอาไว้

 

 

เครือข่ายความร่วมมือในการผลิต (Collaborative Manufacturing Network)


กระบวนการผลิตเหมือนกับคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยงานวิศวกรรมและการออกแบบ การควบคุมการผลิต ตารางการผลิต และการบริหารด้านการจัดหาที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการความร่วมมือ การเพิ่มในเรื่องการใช้ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซ์ทราเน็ต และเครือข่ายอื่นๆเพื่อเชื่อมโยงกับสถานีงาน (Workstation) ของวิศวกร และผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ กับเพื่อนร่วมงานในสาขาอื่นๆ เครือข่ายความร่วมมือในการผลิตนี้อาจเชื่อมโยงพนักงานในบริษัท รวมทั้งตัวแทนจากบริษัทผู้จัดหาสินค้าหรือลูกค้าไม่ว่าจะอยู่ในที่แห่งใดก็ตาม


การควบคุมการดำเนินงาน (Process Control)


การควบคุมการดำเนินงานเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมการทำงานที่เห็นได้ทางกายภาพกระบวนการควบคุมการทำงานในเชิงกายภาพในการกลั่นน้ำมัน การผลิตซีเมนต์ การถลุงเหล็กกล้า การผลิตสารเคมี การผลิตอาหารจากโรงงาน การผลิตกระดาษ การผลิตกระแสไฟฟ้า และอื่นๆ โดยใช้อุปกรณ์ในการตรวจจับ (Sensing) เพื่อวัดคุณลักษณะทางกายภาพ เช่น อุณหภูมิ หรือการเปลี่ยนแปลงของแรงดัน ข้อมูลที่ได้จากเครื่องมือวัดทางกายภาพนี้จะถูกแปลงไปเป็นรูปแบบดิจิตอล ด้วยเครื่องแปลงสัญญาณอนาลอก- ดิจิตอล และถ่ายทอดสัญญาณนี้ไปสู่คอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผล
ซอฟต์แวร์ที่ควบคุมการดำเนินงานใช้รูปแบบทางคณิตศาสตร์ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากกระบวนการที่กำลังดำเนินอยู่และเปรียบเทียบกับมาตรฐาน หรือคาดการณ์ผลลัพธ์ที่ต้องการ จากนั้นคอมพิวเตอร์จะสั่งการควบคุมกระบวนการโดยอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุม เช่น เทอร์โมสเตต (Thermostats) วาล์ว (Valves) สวิตช์ Switches) หรืออื่นๆ ระบบควบคุมการดำเนินงานนี้สามารถส่งข้อความหรือแสดงหน้าจอในการทำงาน ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมสามารถใช้มาตรการที่เหมาะสมในการควบคุมการทำงาน และยังสามารถจัดทำรายงานเพื่อวิเคราะห์ผลการปฏิบัติงานในการบวนการผลิตตามที่ต้องการอย่างสม่ำเสมอ


การควบคุมเครื่องจักรกล (Machine Control)


การควบคุมเครื่องจักรกลเป็นการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกล ที่รู้จักกันดีในนาม Numerical Control โดยแปลงข้อมูลทางเรขาคณิตจากการวาดภาพทางวิศวกรรมและขั้นตอนการทำงานจากการวางแผนการดำเนินงานไปสู่รหัสตัวเลขของชุดคำสั่งซึ่งควบคุมการทำงานของเครื่องจักร การควบคุมเครื่องจักรกลนี้ อาจรวมไปถึงการใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ เพื่อวัตถุประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงที่เรียกว่า การควบคุมตรรกะคำสั่งในการทำงาน (Programmable Logic Controllers : PLCs) ช่วยวิศวกรปรับระดับการทำงานอย่างละเอียดของเครื่องมือเครื่องจักรกล


หุ่นยนต์ (Robotics)


การพัฒนาที่สำคัญในเรื่องการควบคุมเครื่องจักรและคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในอุตสาหกรรม คือ การสร้างสรรค์เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพสูงและหุ่นยนต์ อุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมการทำงานของสิ่งเหล่านี้ คือไมโครคอมพิวเตอร์ การศึกษาและระบบงานที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์นี้เป็นเทคโนโลยีของการสร้างและการใช้เครื่องจักร บวกกับ ความฉลาดของคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมให้มีความสามารถทางกายภาพเหมือนมนุษย์ทั่วไป ( สมรรถภาพของการใช้มือ การเคลื่อนไหว การมองเห็น) ซึ่งกลายเป็นประเด็นหลักในการวิจัยและพัฒนาในสาขาปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence - AI)
หุ่นยนต์ถูกใช้ในฐานะ " คนงานปกเสื้อเหล็ก” (Steel-collar Workers) ได้เพิ่มการผลิตและลดค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมาก เช่น หุ่นยนต์อาจคุมวาล์วความดันที่อัตรา 320 หน่วยต่อชั่วโมง ซึ่งเป็น 10 เท่าของแรงงานคน หุ่นยนต์ยังเป็นประโยชน์มากในด้านสิ่งที่เป็นพิษหรือของเสีย หุ่นยนต์ทำตามโปรแกรมที่กำหนดโดยแม่ข่ายและโหลดข้อมูลนั้นสู่ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานสำหรับวัตถุประสงค์เฉพาะ การนำข้อมูลเข้านั้นได้จากการมองและหรือการสัมผัสตัวจับสัญญาณ (Sensor) เพื่อประมวลผลโดยไมโครคอมพิวเตอร์และแปลงเป็นการเคลื่อนไหวของหุ่นยนต์ โดยทั่วไปมักจะเป็นการเคลื่อนไหวแขนและมือของหุ่นยนต์เพื่อจับขึ้น หรือยกของ หรือทำหน้าที่อื่นๆ ตามที่ได้รับคำสั่ง เช่น การวาดรูป การขุดเจาะ และการเชื่อมโลหะ จากการพัฒนาด้านการศึกษาและระบบงานที่เกี่ยวข้องกับหุ่นยนต์ได้รับการคาดการณ์ไว้ว่าจะทำให้เกิดหุ่นยนต์ที่มี ความฉลาด ยืดหยุ่น และเคลื่อนไหวได้มากขึ้น โดยการปรับปรุงความสามารถในการคำนวณ การมองเห็น การสัมผัส และการกำหนดทิศทาง

 

05


การใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมแขนและมือของหุ่นยนต์เพื่อช่วยในการประกอบแผงวงจร (Circuit Board) ที่ Bell Laboratories
คอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านวิศวกรรม (Computer-Aided Engineering - CAE)


วิศวกรด้านการผลิตใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยงานด้านวิศวกรรม CAE สร้างแบบจำลองเพื่อการทดสอบ การวิเคราะห์ และการประเมินต้นแบบของการออกแบบผลิตภัณฑ์ซึ่งพวกเขาได้พัฒนาขึ้น โดยการใช้วิธีการด้านคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการออกแบบ (Computer Aided Design - CAD) ช่วยวิเคราะห์และออกแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงกระบวนการผลิตในโรงงาน และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น CAD Package ช่วยในงานวาดภาพของวิศวกรและช่วยให้เกิดภาพกราฟิก 3 มิติซึ่งสามารถทำให้หมุนไปรอบๆ เพื่อที่จะมองวัตถุได้ทั้ง 3 ด้าน สามารถมองในระยะใกล้ เพื่อมองส่วนประกอบเฉพาะส่วนและสามารถแสดงการเคลื่อนไหวเหมือนกับการทำงานกับของจริง การออกแบบนี้สามารถแปลงไปสู่แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของผลงานที่ได้ทำสำเร็จ